
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2568 กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าสะพานปลา ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี ไม่ขอทน ต่างออกมาร้องขอความเป็นธรรม โดยออกมารวมกลุ่มกัน เขียนป้ายประท้วง โดยมีข้อความดังนี้ ชาติไทยเป็นของคนไทยต่างด้าวไม่มีสิทธิมาแย้ง,คนไทยขายชาติเป็นนอมินีกับต่างด้าว,ต่างด้าวแย้งงานคนไทยหมดแล้ว,นายกอุ๊กอิ๊งช่วยด้วย,กันจอมพลังช่วยด้วยไม่มีหน่วยงานไหนจัดการได้, และมีการตะโกนขับไล่แรงงานต่างด้าวออกไป และตะโกนให้กันจอมพลังช่วยด้วย โดยเดินประท้วงรอบสะพานปลา และเดินไปยังที่ทำการองค์การสะพาน เพื่อยื่นเอกสารให้ทางองค์การสะพานช่วยจัดการกับกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาประกอบกิจการขายสัตว์น้ำทะเลในสะพานปลา โดยจ้างคนไทยให้เป็นนายจ้างและถือเอกสารสัญญาต่างๆ เพื่อหลีกเลี้ยงกฏหมาย หากเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงก็จะหลุดพ้น ส่งผลให้กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าต่างทนไม่ไหวกับสิ่งที่เกิดขึ้น ต่างพากันตัดพ้อหลังไม่มีใครช่วยได้ จนมีการเดินประท้วงเกิดขึ้น จนทำให้ทุกคนเกิดอารมณ์อย่างรุนแรงในการพูดต่อว่าการทำงานของเจ้าหน้าที โดยพ่อค้าแม่ค้าออกมาบอกว่า แก้ปัญหาไม่ยาก ถ้ารู้ว่าเป็นแรงงานต่างด้าวก็ยึดไปเลย พอเก็บตังทำไมถึงเก็บได้ก็อยากให้ทำตามหน้าทีด้วย ซึ่งองค์การสะพานปลาเป็นที่พึงของพวกเราจึงจำเป็นต้องมา เพราะคนไทยเดือดร้อนหมดแล้ว ทั้งกู้เงิน ขายทร์พย์สิน แรงงานต่างด้าวเข้ามา ปลาก็ขายไม่ได้อีกเลย


สำหรับปัญหานี้ได้ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานกว่า 5 ปี ที่มีกลุ่มต่างด้าว เขมร กัมพูชา เข้ามาประกอบกิจการขายสัตว์ทะเล แต่มีการวานจ้างคนไทย ให้มาเป็นนายจ้าง(นอมีนี) โดยมีค่าจ้างวันละ500บาทต่อวัน รวมถึงการดำเนินการเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโดยให้คนไทยเป็นผู้ถือสัญญาทั้งหมด เพื่อหลีกเลี้ยงเจ้าหน้าที่หากเข้ามาตรวจสอบ ทำให้กลุ่มต่างด้าว เขมร กัมพูชา มักจะรอดพ้นทุกเหตุการณ์ จนทำให้กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยต่างไม่พอใจ เพราะเป็นการแย้งอาชีพคนไทย อีกทั้งกลุ่มแรงงานต่างด้าวมีการขายตัดราคาคนไทย ส่วนต่าง 10-15 บาท
แม้ว่ากลุ่มพ่อค้าแม่ค้าคนไทยกว่า 200 คน ได้ไปยืนหนังสื่อตามหน่วยงานต่างๆของจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างจริงจัง จนได้รับรายงานว่าสะพานปลาแห่งนี้มีต่างด้าวประกอบกิจการโดยอยู่เบื้องหลัง จาก 30 ราย เพิ่มขึ้นเป็น 100 ราย โดยทุกครั้ง ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่ายปกครองเดินทางลงพื้นที่มาจับ แต่ก็ไม่สามารถควบคุมตัวได้สักคน เนื่องจากกลุ่มแรงงานต่างด้าวพากันไปหลบซ่อนตัว ซึ่งปัจจุบัน มีจำนวนร้านค้าที่เป็นล็อคๆ ทั้งหมด 324 ล็อค โดยกลุ่มคนไทยได้ตรวจสอบพบว่า มีร้านค้าที่เป็นของต่างด้าวโดยมีคนไทยเป็นนอมีนี กว่า 100 ล็อค
สำหรับสะพานปลาปัตตานีถือเป็นแหล่งจำหน่ายสัตว์ทะเลที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดปัตตานี ประชาชนจากที่ต่างๆจะแห่พากันมาซื้อทั้งปลา กุ้ง หมึกที่นี่กันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งสัตว์ทะเลจากที่นี่ก็มีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆอีกด้วย จนมีเงินหมุนเวียนเข้าออกปีๆเป็นจำนวนมาก ด้วยเป็นช่องทางที่สร้างรายได้ดี ก็อาจจะเป็นจุดแพ่งเล็งของแรงงานต่างด้าวในการประกอบกิจการ
ด้านนางมารี แม่ค้าขายปลาหมึก เปิดเผย วันนี้เดินทางมาช่วยกันประท้วงเรื่องแรงงานต่างด้าวแย่งอาชีพคนไทย เพราะตอนนี้ยิ่งมากขึ้น คำสั่งต่างๆออกมาแต่ก็ทำอะไรแรงงานต่างด้าวไม่ได้เลย ตอนนี้ทุกคนเดือดร้อน จะตายกันหมดแล้วไม่มีเงินทุนในการประของกิจการแล้ว พอจับได้ก็ปล่อย แล้วทำไม่ยึดล็อคได้จึงไม่ยึดให้จบๆไป ก็วอนให้คุณกันจอมพลัง และพี่เต้ลงมาช่วยที ชาวบ้านปัตตานีเดือดร้อนกันหมดแล้ว
ขณะที่นักข่าวถามนายวีระ ศรีชัย หัวหน้าสำนักงานท่าเทียบเรือประมงปัตตานี ว่าผู้เช่าเป็นคนไทยและเป็นสัญญาเดิม แต่ต่างด้าวมาซื้อโดยที่สัญญาไม่ได้เปลี่ยน โดยทางวีระตอบว่าไม่มี ซึ่งเราต้องไปพิสูจน์ทราบว่าล็อคไหนที่มีต่างด้าวทำสัญญา ถ้ามีเราก็จะดำเนินการตามขั้นตอนยกเลิกสัญญา
ขอบคุณ ภาพ/ข่าว อามีน โลหะสัณห์ ผู้สื่อข่าวปัตตานี