เน้นพัฒนาการศึกษา-สร้างเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน ประธานสภาที่ปรึกษา ศอ.บต.กับความท้าทาย ในภารกิจ การแก้ปัญหาและพัฒนาชายแดนใต้ หลังหมดยุค คสช.

ขดดะรี บินเซ็น ประธานสภาฯ ศอ.บต.กับความท้าทาย ในภารกิจ การแก้ปัญหาและพัฒนาชายแดนใต้ หลังหมดยุค คสช.

วันนี้ 17 เม.ย.68 องค์กรภาครัฐ ภาคประชาชน รวมถึงผู้นำศาสนาและประชาชนในพื้นที่ จชต.ล้นห้องประชุมกว่า 500 คนได้เดินทางมาร่วมแสดงยินดี พร้อมกับมอบช่อดอกไม้เพื่อเป็นกำลังใจให้กับ นายขดดะรี บินเช็น ประธานสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ อ.เมือง จ.ยะลา ภายหลังจากที่ได้รับการประกาศแต่งตั้งจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศอ.บต. ให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา

โดยวันนี้เป็นวันแรกของการเข้ามาทำงานในตำแหน่ง ประธานสภาที่ปรึกษา ฯ ท่ามกลางผู้ที่มาร่วมแสดงความยินดีเป็นจำนวนมาก ซึงก่อนหน้านี้ทุกวันท่านได้เดินทางไปพบผู้นำศาสนา ผู้นำการศึกษา ผู้นำสตรี เยาวชน ท้องที่ ท้องถิ่น ตัวแทนนักธุรกิจ นักวิชาการและอื่นๆ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะในประเด็นต่างๆและคาดว่าจะมีการทำงานผ่านอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ นายขดดะรี บินเช็น ประธานสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า การที่ตนเองได้มาดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ต้องการมาเป็นโซ่ข้อกลางที่จะช่วยกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะให้ความสำคัญกับเรื่องของการขับเคลื่อนการศึกษาเพราะเชื่อว่า หากคนในพื้นที่ได้รับการศึกษที่ดี โอกาสดีๆก็จะตามมา นอกจากนี้ อยากให้ชุมชนมีรากฐานของเศรษฐกิจที่มาจากชุมชนแท้จริง ก็จะทำให้ชุมชนมีเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งตนจะทำหน้าที่นี้ในการสนับสนุนและขับเคลื่อนให้สามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ท่านสะท้อนเพิ่มเติมว่า “เราเสียโอกาสการพัฒนามาหลายปีมากหลังการประกาศ คำสั่งคณะรัฐประหาร“

นายขดดะรี บินเซ็น ประธานสภาที่ปรึกษา ศอ.บต.เน้นพัฒนาการศึกษา-สร้างเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน

นายขดดะรี บินเช็น ประธานสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่าการที่ตนเองได้มาดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ต้องการมาเป็นโซ่ข้อกลางที่จะช่วยกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะให้ความสำคัญกับเรื่องของการขับเคลื่อนการศึกษาเพราะเชื่อว่า หากคนในพื้นที่ได้รับการศึกษที่ดี โอกาสดีๆก็จะตามมา นอกจากนี้ อยากให้ชุมชนมีรากฐานของเศรษฐกิจที่มาจากชุมชนแท้จริง ก็จะทำให้ชุมชนมีเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งตนจะทำหน้าที่นี้ในการสนับสนุนและขับเคลื่อนให้สามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน ในโอกาสเข้าทำงานวันแรก นายขดดะรี ได้เช็ญ บอบออดุลย์ มะหะหมัด ที่ปรึกษา นายก อบจ.ปทุมธานี ไปขอดุอาเพื่อเปืนบารากัตในการเข้ารับตำแหน่งด้วย

นายมูฮำหมัด ดือราแม ได้รายงานเรื่อง ”บทบาทสภาที่ปรึกษาฯ ชายแดนใต้ คืนบทบาทพลเรือนช่วยดับไฟใต้ หลังโดน คสช.ยุบไปนานเกือบ 10 ปี“ ในประชาไทว่า ”หลังรัฐประหารปี 2557 กลไกสภาที่ปรึกษาฯ ถูกระงับไปด้วย คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ 4 เมษายน 2559 ซึ่งออกมาหลังจากได้คัดเลือกสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯชุดที่ 2 แล้วในปี 2558 แต่ยังไม่ทันประกาศแต่งตั้งก็มีอันต้องระงับไป

ส่วนการตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ มี 60 คนมาทำหน้าที่แทนสภาที่ปรึกษาฯ มาจากการคัดเลือกของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และ ศอ.บต. มีหน้าที่แค่ให้คำปรึกษาตามที่นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการ ศอ.บต.ต้องการ ซึ่งที่ผ่านมาก็แทบจะไม่เห็นบทบาทอะไรเลย

คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 14/2559 ยังกำหนดให้บูรณาการการทำงานระหว่าง กอ.รมน.กับ ศอ.บต. แต่เลขาธิการ ศอ.บต.ต้องฟังเลขาธิการ กอ.รมน. ซึ่งหมายถึงการให้ กอ.รมน.มีอำนาจเหนือกว่า ศอ.บต. ทั้งๆ ที่ตาม พ.ร.บ. ศอ.บต. ให้อำนาจและศักดิ์ของ ศอ.บต. เทียบเท่า กอ.รมน. ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯ คือกลไกการมีส่วนร่วมจากประชาชน

อย่างไรก็ตาม เดิมทีสภาที่ปรึกษาฯ เป็น 1 ใน 3 กลไกตาม พ.ร.บ. ศอ.บต. โดยมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ “กพต.” เป็นกลไกระดับบนสุด มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีรัฐมนตรีและหน่วยงานต่างๆ เป็นกรรมการรวม 35 คน ซึ่งมี 6 คนเป็นตัวแทนประชาชน คือประธานสภาที่ปรึกษาฯ และผู้แทนภาคประชาชนจังหวัดละ 1 คนที่สภาที่ปรึกษาฯ คัดเลือก เมื่อสภาที่ปรึกษาฯถูกสั่งระงับ ตัวแทนประชาชนส่วนนี้ก็หายไปด้วย

กพต. มีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ ศอ.บต.เสนอ รวมถึงแผนงาน โครงการและงบประมาณ

กลไกที่ 2 คือ ศอ.บต.เป็นส่วนราชการในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่สำคัญ ๆ เช่น จัดทำยุทธศาสตร์และแผนด้านการพัฒนา คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและอำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชน ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและจากเหตุการณ์ไม่สงบ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นต้น

ส่วนกลไกที่ 3 ก็คือ สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

#ข่าวขับเคลื่อนพัฒนาชายแดนใต้ #ประธานสภาที่ปรึกษา #ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ #นายขดดะรีบินเซ็น #เน้นการศึกษาพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน #ThePoligensNews

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *