ระเบิดภูเขา เท่ากับ ระเบิดโรงเรียน ยก 3 ข้อเสนอ “แถลงการณ์”สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้

สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้“คัดค้านสัมปทานเขาโต๊ะกรัง จังหวัดสตูล” พร้อม 3 ข้อเสนอแนะ

วันที่ 28 มกราคม 2568 สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้ ได้ออกแถลงการณ์ คัดค้านสัมปทานเขาโต๊ะกรัง จังหวัดสตูล (ระเบิดภูเขา เท่ากับ ระเบิดโรงเรียน) ซึ่งสมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้ ทราบข่าวว่าโรงเรียนอรุณศาสตร์ ซึ่งเป็นเครือข่ายของสมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้ กำลังประสบกับปัญหาอย่างหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ด้วยเพราะมีผู้ประกอบการด้านเหมืองหินอุตสาหกรรม ทำการยื่นขอประทานบัตรเพื่อสัมปทานการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมเขาโต๊ะกรัง อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ซึ่งปัจจุบันพบว่ากระบวนการดำเนินการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือการศึกษา EIA. โครงการสัมปทานเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมเขาโต๊ะกรัง ได้ผ่านการอนุมัติแล้ว ทั้งที่เคยถูกร้องเรียนจากโรงเรียนและประชาชนในพื้นที่มาหลายครั้ง โดยเฉพาะประเด็นความไม่ชอบธรรมในการดำเนินงาน การปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการโดยตรง ซึ่งรวมถึงการไม่ยอมรับข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงของพื้นที่สัมปทาน ที่เชื่อว่าเข้าข่ายไม่สามารถให้อนุญาตประทานบัตรได้ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2562 ในมาตรา 17 อันเป็นมาตราที่ต้องการปกป้องคุ้มครองฐานทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่น พวกเรามีความเป็นอย่างยิ่งว่า พื้นที่สัมปทานโครงการดังกล่าว คือเขาโต๊ะกรัง ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับโรงเรียนอรุณศาสตร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มีระยะห่างเพียงแค่ 200 – 300 เมตร เท่านั้น

ซึ่งรวมถึงถนนสัญจรเส้นหลักหน้าโรงเรียน และถนนทางเข้าหมู่บ้านนาปริก ก็อยู่ในรัศมี 500 เมตร อันถือเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับโรงเรียน ที่มีครูนักเรียนและคนทั่วไปที่มาใช้สถานที่แห่งนี้ศึกษาคัมภีร์อัลกุรอ่านเกือบ 2,000 ชีวิต หากแต่ข้อมูลเหล่านี้กลับไม่ถูกรับฟัง และไม่ถูกบรรจุอยู่ในรายงานการศึกษาโครงการนี้แต่อย่างใด อีกประการสำคัญที่หลายคนยังไม่ทราบคือ เคยมีการสำรวจเบื้องต้นโดยนักวิชาการอิสระที่มีบทบาทอย่างมากในการสำรวจแหล่งฟอสซิลในจังหวัดสตูล จนได้รับการผลักดันให้เป็นเมืองอุทยานธรณีโลก หรือจีโอพาร์ค พบว่า “เขาโต๊ะกรัง” เป็นภูเขาที่อยู่ในยุคเดียวกันและมีฟอสซิลโบราณที่ควรทำการสำรวจอย่างจริงจัง และควรเป็นพื้นที่ขยายของอุทยานธรณีโลกสตูลด้วย นอกจากนี้สมาคมฯ ได้มีข้อเสนอแนะเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ 3 ข้อ ดังนี้

1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องตรวจสอบการดำเนินงานของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. ที่ปล่อยให้มีการอนุมัติรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA. ของโครงการนี้ เพราะเห็นได้ถึงความไม่โปร่งใสและไร้มาตรฐานในกระบวนการศึกษา

2. ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ยับยั้งการอนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้และการตั้งโรงงานของโครงการนี้ไว้ก่อน พร้อมกับดำเนินการเพื่อให้มีการเพิกถอนภูเขาโต๊ะกรัง ออกจากประกาศแหล่งแร่ของจังหวัดต่อไป

3. ขอให้โรงเรียนและประชาชนในพื้นที่ ดำเนินการทางปกครองกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ด้วยเพราะโครงการนี้อาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย โดยเฉพาะ พรบ.แร่ พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 17 วรรค 4

หมายเหตุ ดูแถลงการณ์ ฉบับเต็มดังนี้

แถลงการณ์ สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้

เรื่อง ขอคัดค้านสัมปทานเขาโต๊ะกรัง จังหวัดสตูล (ระเบิดภูเขา เท่ากับ ระเบิดโรงเรียน)

ด้วยสมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้ ทราบข่าวว่าโรงเรียนอรุณศาสตร์ ซึ่งเป็นเครือข่ายของสมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้ กำลังประสบกับปัญหาอย่างหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยเพราะมีผู้ประกอบการด้านเหมืองหินอุตสาหกรรม ทำการยื่นขอประทานบัตรเพื่อสัมปทานการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมเขาโต๊ะกรัง อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

ซึ่งปัจจุบันพบว่ากระบวนการดำเนินการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือการศึกษา EIA. โครงการสัมปทานเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมเขาโต๊ะกรัง ได้ผ่านการอนุมัติแล้ว ทั้งที่เคยถูกร้องเรียนจากโรงเรียนและประชาชนในพื้นที่มาหลายครั้ง โดยเฉพาะประเด็นความไม่ชอบธรรมในการดำเนินงาน การปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการโดยตรง ซึ่งรวมถึงการไม่ยอมรับข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงของพื้นที่สัมปทาน ที่เชื่อว่าเข้าข่ายไม่สามารถให้อนุญาตประทานบัตรได้ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2562 ในมาตรา 17 อันเป็นมาตราที่ต้องการปกป้องคุ้มครองฐานทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่น

พวกเรามีความเป็นอย่างยิ่งว่า พื้นที่สัมปทานโครงการดังกล่าว คือเขาโต๊ะกรัง ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับโรงเรียนอรุณศาสตร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มีระยะห่างเพียงแค่ 200 – 300 เมตร เท่านั้น ซึ่งรวมถึงถนนสัญจรเส้นหลักหน้าโรงเรียน และถนนทางเข้าหมู่บ้านนาปริก ก็อยู่ในรัศมี 500 เมตร อันถือเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับโรงเรียน ที่มีครูนักเรียนและคนทั่วไปที่มาใช้สถานที่แห่งนี้ศึกษาคัมภีร์อัลกุรอ่านเกือบ 2,000 ชีวิต หากแต่ข้อมูลเหล่านี้กลับไม่ถูกรับฟัง และไม่ถูกบรรจุอยู่ในรายงานการศึกษาโครงการนี้แต่อย่างใด อีกประการสำคัญที่หลายคนยังไม่ทราบคือ เคยมีการสำรวจเบื้องต้นโดยนักวิชาการอิสระที่มีบทบาทอย่างมากในการสำรวจแหล่งฟอสซิลในจังหวัดสตูล จนได้รับการผลักดันให้เป็นเมืองอุทยานธรณีโลก หรือจีโอพาร์ค พบว่า “เขาโต๊ะกรัง” เป็นภูเขาที่อยู่ในยุคเดียวกันและมีฟอสซิลโบราณที่ควรทำการสำรวจอย่างจริงจัง และควรเป็นพื้นที่ขยายของอุทยานธรณีโลกสตูลด้วย สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้ จึงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับโครงการนี้ จึงขอเรียกร้องดังนี้

1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องตรวจสอบการดำเนินงานของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. ที่ปล่อยให้มีการอนุมัติรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA. ของโครงการนี้ เพราะเห็นได้ถึงความไม่โปร่งใสและไร้มาตรฐานในกระบวนการศึกษา

2. ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ยับยั้งการอนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้และการตั้งโรงงานของโครงการนี้ไว้ก่อน พร้อมกับดำเนินการเพื่อให้มีการเพิกถอนภูเขาโต๊ะกรัง ออกจากประกาศแหล่งแร่ของจังหวัดต่อไป

3. ขอให้โรงเรียนและประชาชนในพื้นที่ ดำเนินการทางปกครองกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ด้วยเพราะโครงการนี้อาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย โดยเฉพาะ พรบ.แร่ พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 17 วรรค 4

แถลงโดย สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้

ลงวันที่ 28 มกราคม 2568

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *